28.1.52

เมื่ออ่าน..งามอย่างเซน


หนังสือ..งามอย่างเซน...เป็นหนังสือที่อ่านแล้วได้มุมมองที่แปลก และน่าสนใจ

เกี่ยวกับการมอง และการวางที่ทางของชีวิตตนเองได้ดีทีเดียว


และเหล่านี้คือความคิดเห็นของใครๆ หลายๆ คน



7 ความคิดเห็น:

  1. http://gotoknow.org/blog/wckchira/90504

    งามอย่าง..เซน (ฉันอยากเป็นบุคคลที่งดงาม)-
    ..ขอให้ความรักของฉันที่มีต่อเธอนั้น...ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นภาระของเธอ เพราะแท้ที่จริงแล้ว..ฉันเป็นฝ่ายเลือกที่จะรักเธอเอง

    ห่างหายไปนานเหมือนกันค่ะ..สำหรับการเขียนบันทึกของตัวเอง.เนื่องจากยังไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรดี...และมัวแต่ติดพันการอ่านหนังสือซึ่งให้ความรู้สึกดีดี.และให้แง่คิดที่สวยงาม..อ่านจบแล้วก็รู้สึกอยากให้คนที่ชอบหนังสือและแนวคิดแบบนี้ได้ลองอ่านบ้าง...(บางทีหลายๆคนอาจจะอ่านมาแล้วก็ได้..นะคะ)..

    งามอย่างเซน...คือชื่อหนังสือที่ดิฉันกำลังพูดถึงอยู่ซึ่งเขียนโดยภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า แปลโดยช่อฟ้า เจตนาวีระบุตร

    ใครที่สนใจแนวคิดแบบเซน...และวิธีการมองโลกที่สวยงาม...น่าจะต้องลองหยิบมาอ่านดูนะคะ..มีหลายๆเรื่องที่ดิฉันชอบมาก เนื่องจากวิธีการนำเสนอแง่คิดของเซนเค้าจะใช้การพูดสั้นๆแต่ให้คิดกว้างและลึกซึ้ง...และมักเขียนเป็นบทกลอน..ที่อ่านแล้วตรึงใจ..อย่างเช่น เรื่อง

    ฉันอยากเป็นบุคคลที่งดงาม

    ผู้เขียนอ้างถึงคุณยาอิจิ อะอิสุ กวีญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่เขียนถึงเพื่อนคนสนิทของเธอว่า

    " เพื่อนของฉัน การที่เราดำรงสติในทุกๆสิ่งที่คิดและทำ..และมีหัวใจที่สงบและสันตินั้น ฉันหวังว่า..ฉันจะกลายเป็นบุคคลที่งดงาม"

    การรัก

    ท่านผู้แต่งอ้างถึงท่านรพินทรนาถ ฐากูรที่มีแนวคิดเกี่ยวกับความรักของท่านว่า

    "ขอให้ความรักของฉันที่มีต่อเธอนั้น...ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นภาระของเธอ เพราะแท้ที่จริงแล้ว..ฉันเป็นฝ่ายเลือกที่จะรักเธอเอง"

    หรืออีกเรื่องนึง นกสีฟ้า

    ฉันแบกสัมภาระ ข้ามเขาลูกแล้วลูกเล่า

    มองหาฤดูใบไม้ผลิอยู่ทั้งวัน

    หาไม่พบ..

    กลับมาถึงบ้าน

    ฉันเหลือบเห็นดอกเหมยบาน

    นั่นไง..ฉันเห็นฤดูใบไม้ผลิเบ่งบานอยู่ที่ปลายช่อของมัน...

    ...คิดถึงตัวเองแล้วก็จริงนะคะ..มัวแต่งกๆๆอยู่กับงานจนลืมที่จะเห็นความสวยงามที่อยู่รอบๆตัว...ทั้งๆที่จริงๆแล้วเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง..ก็ไม่เห็นว่าเราจะห่วงอะไรอีกนอกจากตัวเราเอง..งานก็คงเป็นสิ่งสำคัญอันดับสุดท้ายที่เราจะนึกถึงก่อนตายกระมัง..

    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว...ก็เลยคิดได้ว่าเราควรจะแบ่งเวลาให้กับจิตวิญญาณของเราบ้าง..ให้เราได้รับรู้ถึงความว่างบ้าง เพราะความว่างทำให้เราได้มองทุกสิ่งอย่างลึกซึ้ง และอ่อนโยน..และเมื่อนั้นฉันก็ได้คิดแต่งบทกลอนที่ออกมาจากใจขณะขับรถไปโรงเรียนได้ว่า..

    เพียงมองออกไปนอกหน้าต่าง...

    ฉันเห็นดอกไม้บาน..

    ตอบลบ
  2. http://jakpanee.blogspot.com/2007/01/blog-post.html

    วันอาทิตย์, มกราคม 07, 2007

    การรัก

    ท่านรพินทรนาถ ฐากูรเคยกล่าวไว้ทำนองว่า "ขอให้ความรักของฉันที่มีต่อเธอนั้น ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นภาระของเธอ เพราะแท้ที่จริงแล้วฉันเป็นฝ่ายเลือกที่จะรักเธอเอง"

    คัดย่อมาจาก บทหนึ่งของ งาม อย่าง เซน โดย ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า สำนักพิมพ์เสมขิกขาลัย

    ปล. รู้สึกว่าช่างโชคดีเสมอๆ อีกครั้งที่ตัวเองหยิบหนึ่งสือถูกเล่มถูกเวลาให้กับตัวเองได้อย่างน่าประหลาดใจ ทำให้วันนี้เป็นอีกวันพิเศษเลยทีเดียว :)

    เขียนโดย j a k p a n e e

    ตอบลบ
  3. http://www.bangkokforum.net/know_o_return.html

    ไม่ได้ไปไหน เพิ่งกลับมา
    (โดย อาภรณ์ จันทร์สมวงศ์)

    พักหลังๆ มีการพูดเรื่องจิตอาสา
    การให้ การแบ่งปันกันมากขึ้น อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า สังคมกำลังต้องการการฉุดรั้งภาวะบางอย่างไม่ให้สุดโต่ง
    ไปอีกด้าน ซึ่งเป็นด้านของการเห็นแก่ตัว เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ความแล้งน้ำใจไมตรี เป็นต้น

    ฉันเองก็เข้ามาพัวพันกับกลุ่มคนที่ทำงานในเรื่องทำนองนี้อยู่บ้าง อีกทั้งตนเองก็มีความอยากและได้พยายามเสนอตัวเข้าไปเป็นอาสาสมัครในหลายๆ ที่ เท่าที่เวลาและโอกาสจะเอื้ออำนวย นั่นเพราะมองว่าเป็นหนทางของการทำบุญอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ‘ไวยาวัจจมัย’ (สละแรงกายเพื่องานส่วนรวม หรือคนที่ต้องการความช่วยเหลือ)

    และอาจเพราะทำให้ตนเองรู้สึกว่ามีคุณค่ามากขึ้นด้วย แม้ทุกวันนี้จะไม่ได้รู้สึกว่า ตัวเองหายใจรดโลกไปวันๆ ก็ตาม แต่สิ่งที่รบกวนจิตใจอยู่เสมอๆ ก็คือ ความคิดที่ว่า วันเวลาบนโลกใบนี้ของตัวเราไม่ได้ยาวนานนักและตัวเองก็เกิดมาโดยที่ยังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นบุญกุศล หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์มากเท่าที่ควร

    นี่อาจถือเป็นความโลภอย่างหนึ่งก็ได้

    สิ่งที่ตัวเอง ‘ให้’ ได้มากที่สุด คือกำลังแรงกาย และความรู้คิดบางเรื่องบางราวที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับงานบางอย่าง ซึ่งต้องให้เวลา ให้การรับฟัง และให้คำปรึกษาแนะนำ อย่างน้อยก็ในฐานะที่เป็นคนอ่านมาก ฟังมาก อันเป็นนิสัยสันดานติดตัวไปแล้ว ส่วนเรื่องทุนทรัพย์ไม่ต้องพูดถึง เพราะเป็นสิ่งที่หามาได้จำกัด แต่น่าแปลกที่ว่า มูลค่าของทรัพย์ที่ว่าน้อย
    หรือจำกัดนั้น กลับทำให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่หามาได้มากขึ้นกว่าก่อน ซึ่งมันนำไปสู่การรู้คิดที่จะใช้อย่างระมัดระวัง รอบคอบ และอย่างใช้สติปัญญาใคร่ครวญมากกว่าเดิมเสียอีก ที่สำคัญคือ กลับยิ่ง ‘ให้’
    ออกไปได้ง่ายขึ้นในแง่ของการแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น และทำให้เห็นว่าเมื่อยิ่งให้ ก็กลับยิ่งได้ มากกว่ายิ่งให้ ยิ่งร่อยหรอ

    เมื่อพูดถึงการให้ ทำให้นึกถึงเรื่องเซนที่อ่านมาและรู้สึกประทับใจอย่างมาก คืองานเขียนของภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า (หนังสือเรื่อง งามอย่างเซน เมล็ดพันธุ์แห่งธรรมจากมุมมองของผู้หญิง, สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย, ๒๕๔๙)

    ในเรื่อง “สถานการณ์ของอีกคนหนึ่ง” ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า In another’s place เรื่องมีอยู่ทำนองที่ว่า

    หญิงชราคนหนึ่งเธอบอกว่า ไม่มีอะไรที่จะทำให้เธอมีความสุขมากไปกว่าการได้มาร่วมร้องเพลงสวดในคณะประสานเสียงที่วัด แห่งหนึ่งในญี่ปุ่น) แต่วันหนึ่งเธอได้หายหน้าไป ดังนั้นในการซ้อมครั้งต่อมา ภิกษุณี ผู้เขียนหนังสือ)จึงได้ถามเธอว่าเกิดอะไรขึ้น หญิงชราบอกว่า
    “อ๋อ วันนั้นป้าก็พร้อมแล้วนะ และตอนที่กำลังเดินมาที่ประตูบ้าน ก็มีแขกคนหนึ่งมาหาพอดี เธอถามป้าว่ากำลังจะออกไปข้างนอกพอดีหรือ ถ้าหากป้าตอบว่าใช่ เธอก็คงหันหลังและกลับบ้านไป เมื่อคิดได้ว่าคงน่าสงสารมากทีเดียว ถ้าหากเธอมีปัญหาอยู่จนทำให้ต้องมาที่นี่ ป้าจึงตอบว่า ‘ไม่
    เธอมาได้ถูกเวลาทีเดียว ฉันเพิ่งกลับเข้ามา เชิญเข้ามาข้างในก่อนสิ’ ดังนั้นเธอจึงเข้ามา และป้าก็มาซ้อมไม่ได้นั่นแหละ”

    หลายครั้งเมื่อเจอเรื่องหรือเหตุการณ์บางอย่าง ที่ไม่ได้เจอด้วยตัวเอง ฉันมักย้อนถามตัวเองเสมอ ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับตัวเอง อะไรคือปฏิกิริยาแรกที่เรามี ในกรณีเรื่องนี้ก็เช่นกันฉันสงสัยว่า
    ตัวเองจะตอบไปว่าอย่างไร หรือแม้กระทั่งว่า เราเคยตกอยู่ในฐานะเดียวกับแขกผู้นั้น แล้วเจอเจ้าบ้านหรือคนที่เราไปหาด้วยมีปฏิกิริยากับเราเช่นไร ในฐานะผู้ต้อนรับ เราอาจบอกไปว่า

    “เสียใจด้วยนะที่เธอมาตอนนี้ ฉันกำลังจะออกไปทำธุระพอดี มาวันหลังแล้วกัน” หรือ
    “ฉันกำลังจะออกไปข้างนอก แต่ไม่เป็นไรหรอก ไปสายนิดหน่อยก็ได้”

    แต่ไม่ว่าจะตอบอย่างไร มันก็มักให้ความรู้สึกว่า ล้วนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น หรือไม่ก็มีอำนาจบางอย่าง เป็นต้น มาบีบบังคับ เช่น อาจจะเป็นความเกรงใจการรู้สึกว่าตนเองมีค่า คนอื่นเลยต้องการมาหา ต้องการมาขอความช่วยเหลือ) เรื่องนี้กระทบใจอย่างแรงเพราะการที่หญิงชราตอบไปเช่นนั้น “ฉันเพิ่งกลับมา” เป็นการแสดงออกถึงการคิดถึงผู้อื่น หรือมองไปพ้นจากตัวเอง ซึ่งฉันมองว่า นี่คือการให้อย่างแท้จริง เป็นการให้โดยปราศจากตัวตน.

    ตอบลบ
  4. http://phurich360d.spaces.live.com/blog/

    19/10/2007

    งามอย่างเซน

    ข้อความข้างล่างเป็นเนื้อหาบางตอนจากหนังสือ งามอย่างเซน ของภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า


    ทุกคนปรารถนาที่จะร่ำรวยมากกว่ายากจน ปรารถนาที่จะมีร่างกายที่แข็งแรงมากกว่าเจ็บป่วย ปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าล้มเหลว ไม่ว่าตลอดชีวิต คุณจะทำงานหนักแค่ไหน อาจมีบางครั้งที่คุณต้องอดอยากปากแห้ง และไม่ว่าคุณจะไม่ชอบความเจ็บป่วยไข้สักเท่าไร คงต้องมีบ้าง ที่จะถึงเวลาที่คุณไม่สบาย และความเจ็บป่วยไม่สบายนั้นอาจถึงขั้นนำความตายมาสู่คุณด้วยซ้ำไป คุณก็ไม่มีทางหนีไปได้ ไม่ว่าคุณจะมีความมั่นใจหรือความสามารถเท่าไรก็ตาม สักวันหนึ่งคุณอาจจะต้องประสบกับความล้มเหลวก็เป็นได้…


    ...ความสุขที่ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากได้อะไรหรือคุณอยากเป็นอะไรนั้น เป็นเพียงความสุขที่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความเป็นจริงก็คือไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม มันก็สักแค่เกิดขึ้น หากคุณป่วย ก็สักแค่ป่วย หากคุณจน ก็สักแค่จน หากคุณไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณในขณะนั้นๆ คุณจะไม่มีทางที่จะรู้จักกับความสุขได้เลย การเผชิญหน้ากับสิ่งใดก็ตาม และยอมรับมันให้ได้ ด้วยวงแขนที่เปิดรับในกรณีที่มันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จะเปิดทัศนคติของคุณให้สามารถ เห็นได้ว่าชีวิตที่สวยงามนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณมีทัศนคติเช่นนี้ คุณก็ถึงสวรรค์แล้วไม่ ไม่ว่าที่ใด เวลาไหน และในสถานการณ์ใด

    ตอบลบ
  5. http://solitaryanimal.blogspot.com/2006/12/readers-publisher.html

    solitary animal said...

    "ขอให้ความรักของฉันที่มีต่อเธอนั้น ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นภาระของเธอ เพราะแท้ที่จริงแล้วฉันเป็นฝ่ายเลือกที่จะรักเธอเอง" รพินทรนาถ ฐากูร


    ++โอยๆ ซึ้งไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ++

    หยิบมาจากหนังสือเล่มล่าสุด...

    งามอย่างเซน เมล็ดพันธุ์แห่งธรรม จากมุมมองของผู้หญิง (Zen Seeds : Reflection of a femal priest)

    ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า เขียน
    ช่อฟ้า เจตนาวีระบุตร แปล
    สนพ.เสมสิกขาลัย

    Monday, December 04, 2006 2:41:00 PM

    ตอบลบ
  6. เมล็ดพันธ์แห่งความงาม
    Written by นาโก๊ะลี
    Friday, 04 May 2007


    ภิกษุณีชุนโด อาโอยามา เขียนเล่าเรื่องราวประทับใจไว้ในหนังสือ Zen Seeds หรือในภาคภาษาไทย งามอย่างเซน

    ความในบทหนึ่งท่านเล่าเรื่อง พ่อ และแม่ของท่าน ในวัยเจ็ดขวบ พ่อท่านเสีย ขณะนั้นท่านเข้าวัดมาได้สองปี เพื่อเตรียมตัวบวชกับภิกษุณีผู้เป็นป้าของท่าน ในวาระที่พ่อท่านจะเสียนั้น พ่อเรียกท่านเข้าไปใกล้ๆ แล้วบอกว่า ตลอดเวลาในชีวิตของพ่อนั้นปฏิบัติ (เซน) น้อยมาก ดังนั้นเมื่อลูกบวช ขอให้ลูกปฏิบัติในส่วนของพ่อให้ด้วย วัยเจ็ดขวบท่านก็ยังไม่ได้เข้าใจอะไรมากนัก ก็ยังได้แต่เสียใจ และร้องไห้ ให้กับการจากไปของพ่อ แต่กระนั้นท่านก็ยังรับปาก ว่าเมื่อบวชแล้วท่านจะปฏิบัติในส่วนของพ่อให้ด้วย...

    ว่ากันว่า ในการปฏิบัติภาวนานั้น มนุษย์ไม่สามารถทำทดแทนกันได้ หลายครั้งเราก็ยังสงสัยอยู่ว่า มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ หากว่าการปฏิบัติในส่วนดีงามของชีวิต บางวาระเมื่อเราได้น้อมจิตคารวะผู้คนที่เราเคารพ รัก อุทิศ และแผ่ความดีงามนั้นส่งไป...เขาเหล่านั้นจะได้รับหรือไม่ หรือว่าที่สุดแล้ว นั่นก็ไม่ใช่ส่วนที่สำคัญที่สุด หากแต่การน้อมจิตคารวะนั้นมันมีความหมาย และมันงดงามอยู่ในหัวใจของเรา มันคือการส่งผ่านสิ่งที่ดีงามสู่ห้วงปัญญาญาณอันไพศาล ที่สุดแล้วก็จะเป็นเรานั่นเองกระมังที่จะเป็นผู้รับผลแห่งความดีงามทั้งปวง และดูเหมือนสิ่งที่เราทำ กับการส่งผ่านออกไป นั่นคือผลที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าทวี นี่นับเป็นอย่างน้อย ว่าที่สุดยิ่งเราส่งออกไปมากมายเท่าใด เราก็อาจได้รับมากเพียงนั้น.......หรืออย่างไร

    ในบทเดียวกันนั้น ท่านอาจารย์ชุนโด ยังได้เล่าว่า ท่านต้องอยู่ห่างจากแม่ตั้งแต่ยังเด็กด้วยท่านอยู่วัดตั้งแต่ยังเยาว์ กระนั้นท่านก็ยังรู้สึกใกล้ชิดกับแม่ เมื่อความที่ท่านเล่าว่า “แม่เลี้ยงไหม ปั่นด้าย ทอผ้า และปักเย็บเสื้อผ้าต่างๆ ที่จำเป็นให้แก่ข้าพเจ้า..... ตลอดเวลา ห้าสิบหกปีที่ข้าพเจ้าดำเนินรอยตามวิถีแห่งองค์พระพุทธเจ้า....ข้าพเจ้าอยู่ในอ้อมกอดของชุดที่ถักทอโดยฝีเมือแม่ตลอดมา ชุดที่แม่ทำด้วยหัวใจ และด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาแรงกล้าอย่างแท้จริง”

    อาจจะเป็นเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตที่เราแสวงหาความงามมาประดับประดาชีวิต หลายครั้งเราเดินทางไกลข้ามแผ่นดิน ข้ามมหาสมุทร ไปยังดินแดนที่ไกลออกไป เพื่อจะได้เยี่ยมชมทัศนียภาพอันงดงาม หรือกระทั่งมหาวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ นั่นก็ด้วยสถานะ และโอกาสของแต่ละคน ทั้งหลายทั้งปวงนั้นก็เพื่อจะได้ยลยินความวิจิตรอลังการแห่งโลก เพื่อจรรโลงความเบิกบานในหัวใจเรา หลังจากนั้นเราก็คงต้องทำงานหนักเพื่อหาเงิน เพื่อจะได้เดินทางไกลไปแสวงหาความงาม อีกครั้ง อีกสถาน อีกครั้ง อีกสถาน เป็นเช่นนี้อยู่ร่ำไป

    ความจริงอันหนึ่งก็คือ ถ้าเรายังแสวงหาความงาม นั่นหมายความว่าในหัวใจของเรายังมีเมล็ดพันธุ์แห่งความงามอยู่ ในแง่หนึ่งการเดินทางทั้งหลายนั้นก็เพื่อการแต่งแต้มความงามในใจเราด้วย เช่นนั้นแล้ว หากในหัวใจของเรามีเมล็ดพันธุ์แห่งความงาม นอกเหนือจากการเดินทางไกลเพื่อเยี่ยมชม สถานที่ที่งดงามทั้งหลายในโลก ก็จำเป็นอยู่เองที่เราจะได้หาเวลากลับมาเดินทางสู่โลกภายในหัวใจของเราบ้าง ความงามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผลิใบแตกต้น แตกกอ เติบโต เบ่งบานอยู่ภายในหัวใจของเรา มันดีงามมาก เช่นอาจารย์ชุนโด เมื่อท่านได้อยู่ในอ้อมกอดของเสื้อผ้าที่ถักทอโดยแม่ของท่านสักครั้ง หรือในวาระต่างๆ ของชีวิตที่เราจะได้อยู่ในอ้อมกอดของความทรงจำถึงบุคคลที่ดีงามของคนที่เรารัก เคารพ หรือแม้กระทั่งอยู่ในอ้อมกอดของของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ที่เราได้รับ เพื่อเป็นการรดน้ำ เติมปุ๋ย ให้เมล็ดพันธุ์แห่งความงามภายในหัวใจของเราเติบโตอย่างเต็มคุณค่า และความหมาย

    ...นั่นหมายความว่า กลับมาให้เวลากับการดูแลสวนภายในหัวใจของเรานั่นเอง..

    (คัดมาจาก ประชาไท)

    ตอบลบ
  7. http://www.agalico.com/board/archive/index.php/t-18907.html

    ตอบลบ